ภัยแฝงจากโซเดียมที่ไม่ได้อยู่แค่เกลือ

โซเดียมเป็นสารอาหารที่ให้ทั้งคุณและโทษต่อร่างกาย ถ้ากินในปริมาณที่พอดี (2,300 มิลลิกรัมต่อวัน) มันจะเป็นเกลือแร่ที่สำคัญต่อการควบคุมสมดุลน้ำและของเหลวในร่างกาย ซึ่งสามารถควบคุมระบบความดันโลหิต การทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนถึงการดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่ในไตและลำไส้เล็กได้

แต่ถ้าเรากินอาหารที่มีโซเดียมในปริมาณที่มากเกินจำเป็น สารอาหารชนิดนี้ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การลดหรือเลี่ยงกินอาหารที่มีโซเดียมนั้น หลายคนยังเข้าใจผิด คิดว่าต้องพยายามหลีกอาหารหรือเครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มจัดๆ ให้มากที่สุดเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้ว ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว เพราะโซเดียมยังแฝงอยู่ในส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่ไม่ใช่เกลือด้วย และในที่นี้เราเรียกว่า “โซเดียมแฝง”

ทั้งนี้ โซเดียมแฝงทำให้อาหารที่มีโซเดียมสูงบางชนิดอาจไม่มีรสเค็มเลย ซึ่งส่งผลให้ร่ายกายรับเข้าไปอย่างไม่รู้ตัว เช่น

– โมโนโซเดียมกลูตาเมต คือ ผงชูรสและผลปรุงรสที่อยู่ในอาหารต่างๆ
– โซเดียมชอร์เบต เป็นสารกันเสียอยู่ในชีส โยเกิร์ต
– โซเดียมไบคาร์บอเนต คือ ผงฟู หรือเบกกิ้งโซดา ที่อยู่ในขนมอบ คุกกี้ และขนมปังต่างๆ
– โซเดียมเบนโซเอต เป็นสารกันบูดในอาหารกระป๋อง น้ำผลไม้ เส้นก๋วยเตี๋ยว
– โซเดียมไนไตรต์ สารทำให้เนื้อสัตว์มีสีแดงอมชมพู เช่น แฮม และไส้กรอก
– โซเดียมอัลจิเนต เป็นสารทำให้คงตัว มักอยู่ในเยลลี่ ไขมุก ไอศกรีม
– โซเดียมคอลไรด์ หรือเกลือ จะอยู่ในน้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้

ขณะที่อาหารที่เรากินเป็นประจำ แม้จะไม่มีรสเค็ม แต่ก็แฝงเอาไว้ด้วยโซเดียมในปริมาณมาก อาทิ

– แกงจืด ซึ่งมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 1,250 มิลลิกรัม มาจากซุปก้อนปรุงรส
– พะโล้ ซึ่งมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 1,400 มิลลิกรัม มาจากซอส
– บะหมี่หมูแดง ซึ่งมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 1,500 มิลลิกรัม มาจากผงปรุงรสและซอส
– ส้มตำปูปลาร้า ซึ่งมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 2,000 มิลลิกรัม มาจากผลชูรสและน้ำปลาร้า
– แกงเขียวหวาน ซึ่งมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 2,804 มิลลิกรัม มาจากเกลือในพริกแกงและน้ำปลา

สำหรับวิธีการหลีกเลี่ยงการนำโซเดียมเข้าสู่ร่างกายเกินความจำเป็นนั้น ควรเน้นอาหารตามธรรมชาติเข้าไว้ และหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม รสจัด รวมถึงหลีกเลี่ยงการใส่วัตถุปรุงรสในอาหารทุกชนิดด้วย

อ้างอิงจาก: นิตยสารสร้างสุข เดือนมีนาคม 2566

tag:

Infographic ที่เกี่ยวข้อง

“นมแม่” สุดยอดอาหารสำหรับทารก

กินผักต้องระวัง! เจอสารพิษตกค้างสูงกว่าปกติ

ผลกระทบต่อร่างกายจาก 3 สารเคมีอันตรายในการเกษตร

Subscribe

ติดตามข่าวสาร Gindee Club

About Gindee Club

Connect us

Copyright © 2023 Gindee Club. All right reserved.