ภาวะโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินในเด็กกำลังกลายเป็นปัญหาระดับประเทศที่สร้างความหนักใจให้แก่หลายๆ ฝ่าย โดยมีผลการสำรวจออกมาพบว่า ความชุกของโรคอ้วนในเด็กไทยวัยเรียนนั้น มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบอย่างรุนแรงต่อระบบสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงระบบเศรษฐกิจด้วย
การที่เด็ก 1 คนมีภาวะน้ำหนักเกิน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วมีโรคอ้วนติดตัวถึง 2 เท่า ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ที่มีโอกาสจะนำไปสู่โรคไม่ติดเรื้อรังร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน รวมถึงโรคมะเร็ง ฯลฯ
สำหรับสาเหตุที่เด็กไทยมีภาวะน้ำหนักเกินนั้น พบว่า มาจากการขายผลิตภัณฑ์และอาหารต่างๆ ในและรอบบริเวณโรงเรียน โดยชนิดของผลิตภัณฑ์และอาหาร ที่มีแนวโน้มสร้างโอกาสให้เด็กๆ มีน้ำหนักตัวเกิน 5 อันดับแรก ได้แก่
- ผลไม้แปรรูป โอกาสที่จะมีน้ำหนักตัวเกิน : 1.23 เท่า
- บิสกิตโอกาสที่จะมีน้ำหนักตัวเกิน : 1.21 เท่า
- อาหารทอดโอกาสที่จะมีน้ำหนักตัวเกิน : 1.15 เท่า
- นมอัดเม็ดโอกาสที่จะมีน้ำหนักตัวเกิน : 1.10 เท่า
- ช็อกโกแลตโอกาสที่จะมีน้ำหนักตัวเกิน : 0.86 เท่า
ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญที่พบในการจัดการอาหารในและรอบบริเวณโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การขาดบุคลากรที่มีความรู้ และทักษะด้านโภชนาการ รวมถึงเกณฑ์ในการคัดกรองอาหาร
ด้วยเหตุนี้เอง กรมอนามัยและผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงได้มีการพัฒนาเกณฑ์การจำแนกอาหาร ขนม และเครื่องดื่มสำหรับเด็ก เพื่อแยกแยะอาหารตามคุณค่าทางโภชนาการขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีการนำเกณฑ์ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เป็นแอปพลิเคชั่น Foodchoice ที่พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ซึ่งร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยและกระทรว