“Young Food” ส่งต่ออนาคตอาหารสู่มือคนรุ่นใหม่

“Young Food” ส่งต่ออนาคตอาหารสู่มือคนรุ่นใหม่

เพราะอาหารจะมีอนาคต เมื่อคนรุ่นใหม่เห็นอนาคตของตัวเองในอาหาร คือแรงผลักดันที่ทำให้วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด โปรเจ็กต์ ‘Young Food’ ถูกปลุกขึ้น เธอต้องการเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารแบบดั้งเดิมและวัตถุดิบท้องถิ่นในชุมชน เพื่อต่อยอดวัฒนธรรมการกินที่สร้างความมั่นคงให้ระบบอาหาร

ปัจจุบัน โครงการ ‘Young Food’ ทำงานกับเด็กๆ ใน 3 โรงเรียนนำร่องจาก 3 ภาคี คือ

1) โรงเรียนบ้านถนนน้อย จ.กำแพงเพชร ในเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน
2) โรงเรียนเทศบาลพญาเม็งราย 1 จ.เชียงราย ในเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส และ
3) โรงเรียนบ้านควนหรัน จ.สงขลา ในเครือข่ายอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ทั้งนี้ โครงการ ‘Young Food’ จะยืนอยู่บนฐานคิด 3 เรื่อง คือ เมนูอาหาร (Food Menu) ซึ่งสะท้อนระบบนิเวศอาหาร ที่ในแต่ละท้องถิ่นมีความต่างกัน เด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องอาหารผ่านเมนูที่ปรุงขึ้นจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ในลักษณะ Playful and Meaningful คือสนุกและได้สาระ

ฐานคิดต่อมาคือ การเรียนรู้และเชื่อมโยงของคนระหว่างวัย (Bridging) ความรู้ของคนรุ่นเดิมจะถูกส่งต่อให้กับคนรุ่นใหม่จากการชวนให้ลงมือทำ ทั้งจากเด็กๆ สอบถามวิธีจากลุง ป้า น้า อา หรือการที่เด็กได้มีประสบการณ์ในระบบนิเวศจริง

และฐานคิดสุดท้ายคือ พื้นที่สื่อสาร (Food Cafe) ที่วัตถุดิบจะถูกนำมาสื่อสารระหว่างกันและสื่อสารต่อสังคม เช่น ให้เด็กออกแบบเมนูอาหารโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นและสอบถามวิธีทำจากผู้ใหญ่

จากนั้น จึงนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง มีการจัดเทศกาลอาหารในโรงเรียน กระทั่งอาจจะจัดตลาดเขียวขึ้น ซึ่งเด็กสามารถนำเรื่องที่มีส่วนร่วมนี้ไปสื่อสารต่อในช่องทางที่เจ้าตัวสนใจและถนัด เช่น YouTube หรือ TikTok เป็นต้น

S 152592390 1 Gindee Club กินดี คลับ

เรื่องเล่าของ Young Food จากหมู่บ้านป่าเกี๊ยะ จ.เชียงราย

เรื่องราวของโครงการ Young Food ได้พาไปรู้จักกับ ‘บิว’ สุภาพร หมื่อแล คนรุ่นใหม่แห่งหมู่บ้านป่าเกี๊ยะ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า จ.เชียงราย อดีตนักกายภาพบำบัดในกรุงเทพฯ ที่กลับไปใช้ชีวิตในบ้านเกิด และทำงานเก็บเมล็ดพันธุ์วัตถุดิบท้องถิ่นกับครอบครัว โดยทำงานร่วมกับกลุ่ม Seed Journey ในฐานะเจ้าบ้าน บิวเล่าให้เราฟังว่า ที่หมู่บ้านป่าเกี๊ยะของเธอไม่มีร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตของชาวป่าเกี๊ยะอยู่ในป่า อยู่ในสวนผัก สวนครัว ที่มีผักพื้นถิ่นที่กินได้ตลอดทั้งปี

ช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตสั้นๆ ในหมู่บ้าน เด็กๆ เกิดการเรียนรู้จากห้องเรียนธรรมชาติ ที่คนในชุมชนพาไปหาวัตถุดิบในป่ามาทำเมนูอาหาร เด็กๆ ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างที่มา สนุกกับเรื่องราวที่อยู่ตรงหน้า จนลืมอาหารการกินที่คุ้นเคp นอกจากนี้ เด็กๆ จะเอาวัตถุดิบจากบ้านตัวเองมาด้วย เช่น เด็กที่มาจากภาคใต้เอาน้ำบูดู เอาอาหารทะเลแห้งมา แล้วก็มาแลกเปลี่ยนกันว่า วัตถุดิบท้องถิ่นในชุมชนนี้สามารถทำอะไรในเมนูตัวเองได้บ้าง เขาก็ทำข้าวยำโดยใช้ผักในหมู่บ้านเรา

นอกจากจะเกิดเมนูที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมแล้ว เด็กๆ ยังได้รู้จักเมนูของชาวอาข่า ที่แม่ๆ ในชุมชนปรุงขึ้นจากวัตถุดิบที่เด็กเก็บมา โดยไม่รู้ล่วงหน้าว่าจะมีอะไรมาพลิกแพลงได้บ้าง ในที่สุด ก็เกิดเป็นอาหารจานพิเศษที่น่าตื่นเต้นสำหรับวัยอยากรู้

cover96 01 1 Gindee Club กินดี คลับ

New Food Community ต่ออายุอาหารชุมชนด้วยมือคนรุ่นใหม่

โครงการ Young Food ทำงานร่วมกับเด็ก 4 กลุ่ม คือ เด็กประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย มหาวิทยาลัย และครอบคลุมจนถึงเด็กจบใหม่ ซึ่งวัลลภามองว่าเป็นกลุ่มสำคัญ เพราะหากกลุ่มนี้สนใจประกอบอาชีพด้านอาหารและเป็นอาหารอินทรีย์จะยิ่งมีความหมายต่อระบบอาหารมากขึ้น

สำหรับวัลลภาแล้ว เด็กคือตัวละครสำคัญ เด็กมีเมนูพื้นบ้าน จนในที่สุดตัดขาดจากระบบอุตสาหกรรมอาหารที่มีอยู่ทั่วไป มาสู่การใช้วัตถุดิบอาหารในพื้นที่ โครงการ Young Food ต้องสร้าง New Food Community ที่เด็กคือ New แล้วมาต่ออายุให้ Traditional Community ที่กำลังอ่อนล้า ได้มีชีวิตชีวาจากตัวละครคนรุ่นใหม่ ซึ่งนี่คือภาพฝันของวัลลภาคิดเอาไว้

tag:

ผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscribe

ติดตามข่าวสาร Gindee Club

About Gindee Club

Connect us

Copyright © 2023 Gindee Club. All right reserved.