เรียนรู้รักษ์ผึ้ง ในฐานะตัวแปรความอยู่รอดของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

เรียนรู้รักษ์ผึ้ง ในฐานะตัวแปรความอยู่รอดของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

“ผึ้ง” ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหาร เพราะนอกจากผึ้งจะให้น้ำผึ้งที่หอม หวาน และมีประโยชน์ ซึ่งสร้างมูลค่ามหาศาลแล้ว ผึ้งยังเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ของพืชหลายชนิด ที่ล้วนต้องอาศัยพวกมันมาช่วยผสมเกสรในการออกดอกออกผลด้วย

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ของผึ้งในปัจจุบันกลับไม่สู้ดีนัก เมื่อจำนวนของผึ้งเริ่มลดน้อยถอยลง แถมยังมีปรากฏการณ์ผึ้งตายยกรัง หรืออาการรังผึ้งล่มสลาย (colony collapse disorder) กระจายตัวจนพบเห็นกันได้ทั่วโลกอีกต่างหาก ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุมาจากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมีอย่างกว้างขวางในพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้ผึ้ง ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนไหว ค่อยๆ หายไปจากธรรมชาตินั่นเอง

ภาพย่อยที่ 2 edited Gindee Club กินดี คลับ

นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยทำนายอนาคตเอาไว้ว่า “หากผึ้งสูญพันธุ์ภายใน 4 ปี มนุษย์ก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย” ขณะที่นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ คาดการณ์ว่า ภายใน 30 ปีข้างหน้า ผึ้งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์จากโลกแล้วก็เป็นได้

ด้วยเหตุนี้เอง หลายๆ ประเทศจึงมีมาตรการไม่ให้มีการใช้ยาฆ่าแมลง รวมถึงสารเคมีหลายชนิดที่มีผลต่อผึ้ง ส่วนองค์กรอนุรักษ์ต่างๆ อย่างเช่น Green Peace ก็มีการรณรงค์ Save the Bees เพื่อให้ชาวโลกรู้ถึงอันตรายของการใช้สารเคมีในการเกษตรที่มีต่อผึ้งด้วย

Beekeeper at apiary at the summer day. Man working in apiary. Apiculture. Beekeeping concept.

และเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องราวของผึ้งมากขึ้น ที่ประเทศไทยเอง APIA (Asian Pollinator Initiatives Alliance) โครงการที่ขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้การเลี้ยงแมลงผสมเกสรควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สายพันธุ์ท้องถิ่น ภายใต้องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ก็ได้จับมือกับมูลนิธิชีววิถี BIO THAI จัดงานเสวนา ชิมน้ำผึ้ง และตามหาแมลงผสมเกสรในสวนชีววิถี ภายใต้หัวข้อ “คืนชีวิตผึ้ง…ด้วยชุมชนและวิถีเกษตรกรรมธรรมชาติ” ขึ้น เพื่อให้ผู้คนได้ทำความรู้จักกับระบบเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับผึ้งและแมลงผสมเกสรอย่างไม่จำกัดบริเวณนั่นเอง

tag:

ผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscribe

ติดตามข่าวสาร Gindee Club

About Gindee Club

Connect us

Copyright © 2023 Gindee Club. All right reserved.